มาส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่ญี่ปุ่นกันเถอะ!

new-year-in-japan-01

©︎ PhotoAC

new-year-in-japan-02

©︎ PhotoAC

แม้ญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทันสมัยเพียงใดก็ตาม ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ก็ยังคงมีวัฒนธรรมและประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณให้ได้สัมผัสกันอยู่หลากหลาย หากต้องการรู้จักญี่ปุ่นอย่างแท้จริง ก็ขอแนะนำว่าให้มาลองใช้เวลาช่วงสิ้นปีที่ญี่ปุ่นดูให้ได้สักครั้ง และในครั้งนี้จะขอแนะนำข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับประเพณีและอาหารที่จะช่วยให้การส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เป็นไปอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน

เอร็ดอร่อยกับโซบะส่งท้ายปี โทชิโคชิ โซบะ (Toshikoshi Soba)

new-year-in-japan-03

©︎ JNTO

new-year-in-japan-04

©︎ PhotoAC

ที่ญี่ปุ่น เมื่อถึงวันที่ 31 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันสิ้นปี หรือที่ชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า “โอมิโซะกะ (Omisoka)” ในตอนกลางคืนจะมีประเพณีการทานโซบะ(soba) ซึ่งเป็นอาหารชนิดเส้นอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น เพื่อเป็นการส่งท้ายปีที่กำลังจะผ่านพ้นไป โดยเปรียบความยาวของเส้นโซบะ หมายถึงการมีสุขภาพดีและอายุยืนยาว และลักษณะที่ตัดขาดได้ง่ายให้หมายถึงการตัดเอาเรื่องร้ายๆ ที่ผ่านมาในปีเก่าออกไป

เนื่องด้วยในช่วงสิ้นปีเป็นช่วงที่ทุกคนจะวุ่นวายอยู่กับการทำความสะอาดและส่งคำทักทายสวัสดีปีใหม่ให้กับคนที่รู้จัก  การทานโซบะจึงเป็นเหตุผลหนึ่งเพราะเป็นอาหารที่ทานได้ง่ายๆนั่นเอง โซบะที่ทานในคืนข้ามปีนั้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น เซโระโซบะ (Seiro Soba) ซึ่งเป็นโซบะเย็นที่ทานกับน้ำซอสทสึยุ (Tsuyu) และ นิชินโซบะ (Nishin Soba) ซึ่งเป็นโซบะในน้ำซุปร้อนๆ โปะหน้าด้วยปลานิชินต้มน้ำตาล เป็นต้น ในคืนวันที่ 31 ธันวาคมนั้นร้านโซบะทุกร้านมักจะหนาแน่นไปด้วยผู้คนจำนวนมาก

ซื้อถุงนำโชคในช่วง ฮัตสึอุริ (Hatsuuri)

ในวันที่ 1 และ 2 ของช่วงเทศกาลปีใหม่ (1-3 มกราคม) ทุกปี ตามห้างสรรพสินค้า อาคารแฟชั่น และถนนสายช้อปปิ้งต่างๆ จะมีการจัดงานฮัตสึอุริ (Hatsu-uri) ซึ่งหมายถึงการเริ่มเปิดขายของเป็นครั้งแรกของปี โดยตามร้านค้ายอดนิยมต่างๆ ก็มักจะมีผู้คนไปเข้าแถวรอร้านเปิดกันแต่เช้า และสิ่งที่ทุกคนตั้งใจจะมาหาซื้อก็คือ “ฟุคุบุคุโระ (Fukubukuro)” หรือถุงนำโชค (Lucky Bags) ซึ่งหมายถึงถุงที่บรรจุสินค้าหลายชิ้นไว้ภายในแต่ผู้ซื้อจะไม่รู้เลยว่าข้างในถุงนั้นมีอะไรบ้าง ถุงนี้จะถูกนำมาจำหน่ายในราคาพิเศษ หากพบว่าภายในถุงมีสินค้าที่ถูกใจอยู่หลายชิ้นก็จะถือว่าปีนี้เป็นปีแห่งโชคลาภ นั่นเอง โดยมากถุงฟุคุบุคุโระ (Fukubukuro) นี้จะมีเสนอราคาอยู่ที่ราว 1,000 – 10,000 เยน แต่บางครั้งภายในถุงอาจมีสินค้ามูลค่ามากกว่าที่ขายเลยทีเดียว นับเป็นการเสี่ยงโชคที่น่าลองดูสักครั้งจริงๆ

©︎ JNTO

ชมพระอาทิตย์แรกของปี ฮัตสึโมเดะ (Hatsumode)

new-year-in-japan-06

©︎ PhotoAC

new-year-in-japan-07

©︎ PhotoAC

พระอาทิตย์แรกของปี หมายถึงพระอาทิตย์ที่ขึ้นในตอนเช้าของวันขึ้นปีใหม่ (1 มกราคม) นับแต่โบราณมาชาวญี่ปุ่นถือว่าแสงอาทิตย์ในเช้าวันขึ้นปีใหม่คือแสงอันเป็นสิริมงคลเพื่อต้อนรับเทพเจ้า สำหรับการชมพระอาทิตย์แรกของปีนั้นหากอยู่ในเขตเมืองใหญ่ๆ ก็ขอแนะนำสถานที่ๆเดินทางไปได้แสนสะดวกอย่างจุดชมวิวบนหอคอยโตเกียว (Tokyo Tower) และ หอคอยเกียวโต (Kyoto Tower) เป็นต้น นอกจากนี้บริเวณทะเลสาบคะวะงุจิ (Lake Kawaguchi) ก็จะเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่ตั้งใจมาเก็บภาพสวยๆ ของแสงอาทิตย์แรกของปีคู่กับภูเขาไฟฟูจิ (Mt. Fuji) หลังจากชมพระอาทิตย์แรกของปีกันแล้ว ก็จะต้องมุ่งหน้าสู่ศาลเจ้าใกล้ๆ เพื่อไปนมัสการศาลเจ้าเป็นครั้งแรกของปี หรือที่ชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า “ฮัตสึโมเดะ (Hatsumode)” นั่นเอง ทั้งนี้แนะนำให้สวมใส่เสื้อหนาวไปให้อุ่นเพียงพอด้วย

* หอคอยโตเกียว (Tokyo Tower) มีจุดชมวิวอยู่ 2 จุด คือจุดชมวิวพิเศษ (Special Observatory Deck) ที่ความสูง 250 เมตรจากพื้นดิน และจุดชมวิวหลัก (Main Observatory Deck) ที่ความสูง 150 เมตรจากพื้นดินปัจจุบันในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2017 จุดชมวิวพิเศษอยู่ในระหว่างปิดให้บริการเพื่อทำการปรับปรุงซ่อมแซม โดยยังไม่มีการประกาศให้ทราบถึงกำหนดการณ์แล้วเสร็จ *

เทศกาลตำโมจิ โมจิทสึกิ (Mochitsuki)

new-year-in-japan-08

©︎ PhotoAC

new-year-in-japan-09

©︎ JNTO

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ชาวญี่ปุ่นมักจะทานโมจิ (mochi) ซึ่งทำจากข้าวเหนียว และนิยมนำมาเป็นเครื่องสักการะเทพเจ้าด้วย ขั้นตอนการทำโมจิแบบดั้งเดิมนั้นเรียกว่า โมจิทสึกิ (Mochitsuki) เป็นเทศกาลส่งท้ายปีเก่าที่สืบทอดมาแต่โบราณซึ่งเต็มไปด้วยผู้คนจำนวนมาก และในปัจจุบันก็ยังคงจัดให้มีอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสิ้นปี สำหรับวิธีการทำจะเริ่มจากการใส่ข้าวเหนียวลงในอุซุ (Usu) หรือครกไม้ขนาดใหญ่ และให้คนหนึ่งใช้สากไม้ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าคิเนะ (kine) ตำลงไปเป็นจังหวะ โดยมีอีกคนคอยช่วยพลิกโมจิไปด้วยจนได้ออกมาเป็นก้อนแป้งโมจิที่นุ่มเหนียวในที่สุด เป็นวิธีการที่น่าหวาดเสียวและต้องคอยลุ้นไม่ให้ตำลงไปโดนมือของอีกคน ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ชาวญี่ปุ่นจะนิยมประดับคะงะมิโมจิ (Kagamimochi) ไว้ในบ้าน และยังนำโมจิมาใส่ในน้ำซุบร้อนๆ รับประทานเรียกกันว่าโอะโซนิ (Ozoni) อีกด้วย

จดหมายข่าวอื่นๆ