ลองเข้ามาสัมผัสโลกอันงดงามของ “Ukiyoe (อุคิโยะเอะ)” กันดูบ้างไหม?

รู้จักศิลปะที่เป็นตัวแทนของประเทศญี่ปุ่นอย่าง “Ukiyoe (อุคิโยะเอะ)” กันหรือเปล่า?

Ukiyoe คือภาพวาดที่วาดลงบนแผ่นไม้และจากนั้นจึงแกะสลักแผ่นไม้ตามภาพที่วาดเอาไว้แล้วทาหมึกลงไป จากนั้นนำกระดาษหรือผ้าย้อมสีมาทาบบนหมึกทำให้เกิดเป็นรูปภาพขึ้นมา (นึกภาพการทำแบบเดียวกับการแสตมป์ภาพก็ได้) ซึ่งเรียกภาพลักษณะแบบนี้ว่า “ฮันกะ”

คำว่า “อุคิโยะ” ของอุคิโยะเอะ มีความหมายว่า “ความเป็นจริง” โดยเริ่มมีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 16 จากภาพวาดการดำเนินชีวิตของผู้คนในเกียวโต อุคิโยะเอะเริ่มแพร่หลายอย่างมากตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่18 เป็นต้นมา แต่ฮันกะของอุคิโยะเอะก็มีอิทธิพลก่อให้เกิดการสร้างงานพิมพ์ที่มีลวดลายคล้ายกันออกมามากมาย เมื่อคนส่วนใหญ่ในยุคสมัยนี้สามารถซื้อหาได้ง่ายในราคาถูก จึงเกิดความนิยมของเรื่องสำหรับอ่าน(คล้ายๆกับนิตยสารในสมัยเรา)ตามมาอย่างแพร่หลาย และศิลปินที่วาดภาพประกอบเรื่องอ่านเหล่านั้น ก็กลายมาเป็นช่างวาดภาพอุคิโยะเอะในเวลาต่อมา

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ว่ากันว่าเหล่าศิลปินจากยุโรปสนใจสะดุดตาภาพอุคิโยะเอะที่ถูกนำมาใช้เป็นผ้าห่อของในสมัยนั้น และรับอิทธิพลทางศิลปะไปอย่างมากไม่ว่าจะเป็นเส้นที่มีความหลากหลายทางอารมณ์ การใช้สีสันที่สดใส และวิธีการนำเสนอลวดลายที่มีอิสระทางจินตนาการต่างๆ

สำหรับผู้คนทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับศาสนาแล้ว อุคิโยะเอะถือเป็นวิวัฒนาการทางศิลปะที่แปลกใหม่และเปี่ยมล้นไปด้วยแนวความคิดมากมาย ทั้งยังส่งอิทธิพลอย่างมากไปถึงศิลปินฝั่งยุโรปชื่อดังที่ถือว่าเป็นตัวแทนของศิลปินยุคปลายศตวรรษที่ 19 อย่างแวนโก๊ะด้วย

Katsushika Hokusai (คะทสุชิกะ โฮะคุไซ) (1760-1849) ซึ่งเป็นนักวาดภาพอุคิโยะเอะที่โด่งดังไปทั่วโลกและเป็นตัวแทนของประเทศญี่ปุ่นท่านหนึ่ง ในช่วงระยะเวลากว่า 70 ปี เขาได้ทดลองคิดแนวทางใหม่ๆมาโดยตลอด และผลิตผลงานออกมามากกว่าสามหมื่นชิ้น โดยผลงานสำคัญที่ทำให้คะทสุชิกะ โฮะคุไซโด่งดังขึ้นมานั้นก็คือ ชุดผลงานภาพภูเขาไฟฟูจิที่ชื่อว่า “Fugakusanjurokkei(ฟุกะคุซังจูรกเค)” คำว่า “ฟุกะคุ” หมายถึงภูเขาไฟฟูจิ เป็นการวาดภาพวิวทิวทัศน์ของภูเขาไฟฟูจิที่มองเห็นได้จากที่ต่างๆของญี่ปุ่น โดยเริ่มแรกมีภาพทั้งหมด 36 ภาพ ตามชื่อชุดผลงาน(“ซังจูรก”แปลว่า 36)  แต่ภายหลังได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้เพิ่มภาพมาอีก 10 ภาพ รวมทั้งหมดเป็นชุดภาพ  46 ภาพ

แม้ว่าทุกภาพจะวาดเป็นรูปภูเขาไฟฟูจิเหมือนกันหมด แต่รูปร่างของภูเขาไฟฟูจิที่แตกต่างกันอย่างมีเอกลักษณ์นั้นมองเท่าไหร่ก็ไม่รู้สึกเบื่อเลย และยังมีภาพที่เป็นโทนสีขาวดำด้วย แต่ไม่ว่าภาพไหนก็ถูกวาดขึ้นอย่างประณีตบรรจงทั้งนั้น

ผู้คนในสมัยนั้นต่างมีความเชื่ออันลึกซึ้งต่อภูเขาไฟฟูจิ มีการรวมตัวจัดงานสักการะภูเขาไฟฟูจิกันอย่างแข็งขัน และยังมีการสร้างภูเขาจำลองตามแบบภูเขาไฟฟูจิไว้ตามสถานที่ต่างๆในเมืองเอโดะ(หรือโตเกียวในปัจจุบัน) อีกด้วย  ภายใต้กระแสทางสังคมเช่นนี้ จึงเป็นที่มาว่าทำไม “ฟุกะคุซังจูรกเค” จึงถือกำเนิดและได้รับความนิยมอย่างก้าวกระโดดอย่างที่เราเห็นกันนี้

งานนิทรรศการแสดงชุดผลงาน “ฟุกะคุซังจูรกเค” นี้ จะจัดขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะประจำจังหวัดฮิโรชิมะ จนถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองฮิโรชิมะที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่สีเขียวอันสวยงาม หากมีโอกาสก็ลองเข้าไปสัมผัสประสบการณ์แห่งโลก “อุคิโยะเอะ” ที่งดงามกันให้ได้สักครั้งนะ

ตัวอย่างภาพผลงานจากชุด “ฟุกะคุซังจูรกเค”

“ไกฟูไคเซ” จาก “ฟุกะคุซังจูรกเค”
ปลายยุคบุนเซ (1818-1830) – ต้นยุคเทมโป (1830-1844)

“คะนะงะวะโอะคินะมิอุระ” จาก “ฟุกะคุซังจูรกเค”
ปลายยุคบุนเซ (1818-1830) – ต้นยุคเทมโป (1830-1844)

“ยูดะจิโนะฟุจิ” จาก “ฟุกะคุซังจูรกเค”
เทมโป 6 (ปี 1835)

โคชูคะจิคะซะวะ” จาก “ฟุกะคุซังจูรกเค”
ปลายยุคบุนเซ (1818-1830) – ต้นยุคเทมโป (1830-1844)

“โทโทมิซันชู” จาก “ฟุกะคุซังจูรกเค”
ปลายยุคบุนเซ (1818-1830) – ต้นยุคเทมโป (1830-1844)

ชื่องาน นิทรรศการ Fugakusanjurokkei(ฟุกะคุซังจูรกเค) และ Fugaku-Hyakkei(ฟุกะคุเฮียกเค) ของโฮะคุไซ
สถานที่จัดงาน พิพิธภัณฑ์ศิลปะประจำจังหวัดฮิโรชิมะ
ที่อยู่ 2-22 Kaminobori-cho, Naka-ku, Hiroshima (ฮิโรชิมะ)
ช่วงเปิดนิทรรศการ 2 มกราคม  – 14 กุมภาพันธ์ 2559
เวลาเปิดเข้าชม 9:00-17:00 น.
ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 1,100 เยน, นักเรียนมัธยมปลาย/นักศึกษามหาวิทยาลัย 700 เยน, นักเรียนประถม/มัธยมต้น 400 เยน
การเดินทาง ขึ้นรถไฟ Hiroshima Electric Railway จากสถานี JR Hiroshima มาเปลี่ยนรถไฟที่สถานี Hachobori เป็นสาย Hakushima แล้วมาลงที่สถานี Shukkeien-mae
เว็บไซต์ http://www.hpam.jp/english/schedule.php

 

 

ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2016

จดหมายข่าวอื่นๆ