เรียนรู้เรื่องรถไฟ JR

การโดยสารรถไฟถือเป็นการคมนาคมหลักในประเทศญี่ปุ่น ระบบการรถไฟที่ญี่ปุ่นทันสมัยมาก ให้บริการครอบคลุมเกือบทุกจุดหมายปลายทางทั่วประเทศ ดังนั้นการเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆภายในประเทศญี่ปุ่นจึงไม่ใช่เรื่องยาก
อย่างไรก็ตาม ก่อนอื่นเราควรทำความเข้าใจกับระบบรถไฟที่ญี่ปุ่นก่อน รถไฟในญี่ปุ่นแบ่งเป็น 3 ระบบหลักๆ ได้แก่
- รถไฟ JR เน้นการเดินทางข้ามภูมิภาค ข้ามจังหวัด และการเดินทางในตัวเมือง
- รถไฟใต้ดิน เน้นการเดินทางในเมืองนั้นๆ
- รถไฟเอกชนต่างๆ วิ่งเฉพาะบริเวณนั้นๆ
ในครั้งนี้ขออธิบายเกี่ยวกับรถไฟ JR ในข้อ 1. เท่านั้น
รถไฟ JR เน้นการเดินทางระหว่างเมือง
รถไฟ JR ครอบคลุมบริเวณทั่วประเทศญี่ปุ่น
กลุ่มภูมิภาคของรถไฟ JR แบ่งแยกตามแต่ละภูมิภาค
ชื่อ | รับผิดชอบบริเวณ | เว็บไซต์ |
JR Hokkaido | เส้นทางบนเกาะฮอกไกโด | http://www2.jrhokkaido.co.jp/global/ |
JR East | เส้นทางในโตเกียว บริเวณใกล้เคียงจนถึงภูมิภาคโทโฮคุ | http://www.jreast.co.jp/e/ |
JR Central | เส้นทางภูมิภาคจูบุ | http://english.jr-central.co.jp/ |
JR West | เส้นทางภูมิภาคคันไช | https://www.westjr.co.jp/global/en/ |
JR Shikoku | เส้นทางบนเกาะชิโกคุ | http://jr-shikoku.co.jp/global/en/ |
JR Kyushu | เส้นทางบนเกาะคิวชู | http://www.jrkyushu.co.jp/english/ |
ตารางแบ่งระดับการให้บริการของรถไฟ JR
แต่ละภูมิภาคและแต่ล่ะสายรถไฟมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป แต่หลักๆมีหลักเกณฑ์การแบ่งดังนี้ การเข้าใจประเภทรถไฟจะทำให้นักท่องเที่ยวตัดสินในเลือกใช้บริการได้ตรงตามความต้องการ
ระดับ(ภาษาญี่ปุ่น) | ประเภท | จุดเด่น |
Super Express (Shinkansen) | รถไฟชินคันเชน หรือ รถไฟหัวกระสุน |
|
Limited Express (Tokkyu) | รถไฟด่วนพิเศษ |
|
Express (Kyuko) | รถไฟด่วน |
|
Rapid Train (Kaisoku) | รถไฟเร็ว |
|
Local Train (Futsu) | รถไฟท้องถิ่น |
|
*หมายเหตุ ราคารถไฟมี 2 ราคา
Ordinary คือชั้นธรรมดา ส่วน Green คือชั้นพิเศษ (เก้าอี้ใหญ่กว่า พื้นที่ระหว่างเข่ากับเบาะเก้าอี้ที่อยู่ด้านหน้ากว้างกว่าชั้นธรรมดา)
ตัวอย่างภาพรถไฟรูปแบบต่างๆ (รูปร่างลักษณะอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละสาย)